จิตวิทยา : ความฝัน
ความฝัน คือประสบการณ์ของภาพ เสียง ข้อความ ความคิด หรือความรู้สึกในขณะที่กำลังนอนหลับ โดยผู้ที่ฝันส่วนใหญ่ไม่สามารถควบคุมได้
ความฝันมักจะเต็มไปด้วยความคิดในด้านต่างๆ ซึ่งความฝันสามารถเกิดได้ตั้งแต่เรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงในสังคมจนถึงเรื่องเหลือเชื่อ รวมไปถึงเรื่องสนุกสนาน เรื่องตื่นเต้น เรื่องน่ากลัว เรื่องเศร้า ที่เรียกว่าฝันร้าย และในบางครั้งความฝันจะมีเหตุการณ์เกี่ยวกับเรื่องทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งมีผลต่อเนื่องอาจทำให้เกิดอาการฝันเปียกในผู้ชาย หลายๆครั้งที่ความฝันเป็นตัวกระตุ้นความรู้สึกทั้งทางด้านจิตใจและทางด้านศิลปะให้แก่ผู้ที่ฝัน
นักวิทยาศาสตร์ได้มีการศึกษาความฝันโดยอ้างอิงกับการเคลื่อนไหวของดวงตาขณะนอนหลับ (rapid eye movement, REM) การกระตุ้นของต่อมponsส่วนประกอบส่วนหนึ่งของก้านสมอง หรือการเปลี่ยนแปลงของการเต้นของหัวใจ
นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า คนทุกคนเฉลี่ยแล้วจะมีความฝันในปริมาณที่เท่าเทียมกัน ถึงแม้ว่าบางคนจะรู้สึกว่าไม่ได้ฝันหรือนานๆทีจะได้มีความฝัน นั่นเพราะสาเหตุที่ว่าความฝันของบุคคลนั้นจางหายไปเมื่อตื่นนอน ความฝันมักจะเลือนหายถ้าสถานะของการฝันของบุคคลนั้นค่อยๆเปลี่ยนจาก สถานะอาร์อีเอม เป็นสถานะเดลต้า และตื่นนอน ในทางกลับกันถ้าบุคคลนั้นตื่นขึ้นขณะที่อยู่สถานะอาร์อีเอม (เช่นตื่นโดยนาฬิกาปลุก) บุคคลนั้นมักจะจำเรื่องที่ฝันได้ อย่างไรก็ตามไม่ใช่ทุกความฝันที่จะถูกจำได้
ความฝันในสิ่งมีชีวิตอื่น
การวิจัยค้นพบว่าสัตว์ได้มีความฝันเช่นเกียวกับมนุษย์ โดยเมื่อสัตว์หลับอยู่ในสถานะอาร์อีเอม สัตว์จะมีความฝันเกิดขึ้น (ถึงแม้ว่าจะไม่มีการระบุเป็นรูปธรรมว่าสัตว์ฝันถึงเรื่องใด) สัตว์ที่มีระยะของสถานะอาร์อีเอมนานที่สุดคือ อาร์มาดิลโลสัตว์ชนิดหนึ่งมีลักษณะคล้ายตัวตุ่น สัตว์ที่มีความฝันบ่อยสุดคือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์ประเภทนก อาจเนื่องมาจากลักษณะรูปแบบในการนอน กบเป็นสัตว์ไม่มีการนอนหลับยกเว้นในช่วงเวลาจำศีล ได้มีการทดสอบความฝันของแมวว่า แมวมักจะฝันถึงการล่าเหยื่อโดยอ้างอิงจากลักษณะการเคลื่อนไหวของขาและร่างกาย ในขณะที่สุนัขได้มีการเคลื่อนไหวของช่วงขาในลักษณะของการวิ่งรวมถึงการเห่าในขณะที่นอนหลับ
ที่มา : http://www.yenta4.com/webboard/viewtopic.php?cate_id=64&post_id=1275763&order_reply=0
วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น